Cr.picture
พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘”
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ”
“มาตรการทางเทคโนโลยี” และ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” ระหว่างบทนิยามคำว่า
“การโฆษณา” และ “พนักงานเจ้าหน้าที่”
ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
“ “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” หมายความว่า
ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์
หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัส แทนข้อมูลดังกล่าว
โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง
“มาตรการทางเทคโนโลยี”
หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือ ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง
โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นำมาใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
“การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี”
หมายความว่า การกระทำด้วยประการใด ๆ ที่ทำให้ มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล”
มาตรา
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗
“มาตรา
๓๒/๑ การจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธ์ในต้นฉบับ
หรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา
๓๒/๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทำหรือได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีลักษณะเป็นการทำซ้ำที่จำเป็นต้องมีสำหรับการนำสำเนามาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์
หรือกระบวนการส่งงานอันมีลิขสิทธิ์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามปกติ
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา
๓๒/๓
ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ
เจ้าของลิขสิทธิ์อาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ผู้ให้บริการ หมายความว่า
(๑)
ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ ของบุคคลอื่น
(๒)
ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
คำรองตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีรายละเอียดโดยชัดแจ้งซึ่งข้อมูล หลักฐานและคำขอบังคับ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการ
(๒)
งานอันมีลิขสิทธิ์ที่อ้างว่าถูกละเมิดลิขสิทธิ์
(๓)
งานที่อ้างว่าได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์
(๔)
กระบวนการสืบทราบ วันและเวลาที่พบการกระทำ และการกระทำหรือพฤติการณ์ ตลอดทั้ง หลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์
(๕)
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
(๖)
คำขอบังคับให้ผู้ให้บริการนำงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของ
ผู้ให้บริการ หรือระงับการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยวิธีอื่นใด
เมื่อศาลได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้ศาลทำการไต่สวน หากศาลเห็นว่าคำร้องมีรายละเอียด ครบถ้วนตามวรรคสาม และมีเหตุจำเป็นที่ศาลสมควรจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้น
ให้ศาลมีคำสั่งให้ ผู้ให้บริการระงับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือนำงานที่อ้างว่าได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์
ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด โดยคำสั่งศาลให้บังคับผู้ให้บริการ
ได้ทันที แล้วแจ้งคำสั่งนั้นให้ผู้ให้บริการทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีเช่นนี้
ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ดำเนินคดี ต่อผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หรือนำงานที่อ้างว่าได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ในกรณีที่ผู้ให้บริการมิใช่ผู้ควบคุม
ริเริ่ม หรือสั่งการให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
และผู้ให้บริการนั้นได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลตามวรรคสี่แล้ว
ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิด เกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งและหลังจากคำสั่งศาลเป็นอันสิ้นผลแล้ว
ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ
ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามคำสั่งศาลตามวรรคสี่” มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗
“มาตรา ๕๑/๑ นักแสดงย่อมมีสิทธิ์ที่จะแสดงว่าตนเป็นนักแสดงในการแสดงของตน
และมีสิทธิ ห้ามผู้รับโอนสิทธิของนักแสดงหรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง
หรือทำโดยประการอื่นใด แก่การแสดงนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง
หรือเกียรติคุณของนักแสดง และเมื่อนักแสดงถึงแก่ความตาย ทายาทของนักแสดงมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง
ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร”
มาตรา
๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา
๕๓ ให้นำมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒/๒ มาตรา ๓๒/๓ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๒
และมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลม”
มาตรา
๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา
๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ และมาตรา ๕๓/๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.
๒๕๓๗
“หมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี
มาตรา ๕๓/๑
การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้น อาจจูงใจให้เกิด
ก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ให้ถือว่าเป็น การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
มาตรา
๕๓/๒ ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่างานหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นได้มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลการบริหารสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิด้วย
ถ้าได้กระทำการอย่างใด อย่างหนึ่งแก่งานนั้นดังต่อไปนี้
(๑)
นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย
(๒)
เผยแพร่ต่อสาธารณชน มาตรา ๕๓/๓ การกระทำใดๆ ดังต่อไปนี้
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ์
(๑) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
หรือวัตถุประสงค์อื่นในทำนองเดียวกัน
(๒)
การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด
หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพสาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
(๓)
การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด
หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
ลักษณะของข้อมูลการบริหารสิทธิตาม
(๒) และงานหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิตาม
(๓) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๕๓/๔ การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีหรือการให้บริการเพื่อก่อให้เกิดการหลบเลี่ยง
มาตรการทางเทคโนโลยี โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้นอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิ
ของนักแสดง ให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี
มาตรา
๕๓/๕ การกระทำตามมาตรา ๕๓/๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการ ทางเทคโนโลยี
(๑)
การกระทำนั้นจำเป็นสำหรับการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(๒)
เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่จำเป็นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการใช้งานร่วมกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
(๓)
เพื่อประโยชน์แห่งการวิจัย วิเคราะห์ และหาข้อบกพร่องของเทคโนโลยีการเข้ารหัส โดยผู้กระทำต้องได้มาซึ่งงานหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายและได้ใช้ความพยายาม
โดยสุจริตในการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว
(๔)
เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ ตรวจสอบ หรือแก้ไขระบบความมั่นคงปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์
ของระบบคอมพิวเตอร์ หรือของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แล้วแต่กรณี
(๕)
เพื่อระงับการทำงานของมาตรการทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวกับการรวบรวมหรือกระจาย ข้อมูลบ่งชี้ส่วนบุคคลที่สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตของผู้ที่เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์
โดยการกระทำนั้นต้องไม่กระทบต่อการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยบุคคลอื่น
(๖)
การกระทำโดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ
การรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือวัตถุประสงค์อื่นในทำนองเดียวกัน
(๗)
การกระทำโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ
ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
เพื่อเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยวิธีอื่น”
มาตรา
๘ ให้ยกเลิกชื่อหมวด ๖ คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง แห่งพระราชบัญญัติ
ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด ๖ คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดง ข้อมูลการบริหารสิทธิ
และมาตรการทางเทคโนโลยี”
มาตรา
๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.
๒๕๓๗
“ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นการกระทำ
โดยจงใจหรือมีเจตนาเป็นเหตุให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชน
ได้อย่างแพร่หลาย ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย
ตามวรรคหนึ่ง”
มาตรา
๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
“มาตรา ๖๕/๑ ให้นำมาตรา ๖๓ มาตรา
๖๔ และมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดี เกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยีโดยอนุโลม”
มาตรา
๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
“มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดกระทำการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตามมาตรา
๕๓/๑ หรือมาตรา ๕๓/๒ หรือละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีตามมาตรา ๕๓/๔
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี
หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
มาตรา
๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๗๕ บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หรือสิทธิของนักแสดง และสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ริบเสียทั้งสิ้น หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งให้ทำให้สิ่งนั้นใช้ไม่ได้หรือจะสั่งทำลายสิ่งนั้นก็ได้
โดยให้ผู้กระทำ ละเมิดเสียค่าใช้จ่ายในการนั้น”
มาตรา
๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙
วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๐/๑ วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบได้”
มาตรา
๑๔ บรรดาคดีละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่มีการฟ้องคดีอาญาไว้ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงที่สุด
ให้นำมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาใช้บังคับกับสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
มาตรา
๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
Cr.picture
11 ข้อสำคัญ กฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ เริ่มใช้งาน 4 ส.ค.58นี้!!
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. เป็นต้นไป
“หัวใจหลักของกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ที่การห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่ก็มีข้อยกเว้นคือหากไม่ใช่การทำเพื่อการค้า ต้องมีการอ้างอิงที่มาก่อน สามารถทำได้ ภายใต้ข้อยกเว้นคือต้องไม่ทำให้ผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ลดลง หรือกระทบกระเทือนถึงสิทธิ์ของเจ้าของ”
1.ลิขสิทธิ์คุ้มครอง คือ ต้องเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่รวมถึงกระบวนการคิดหรือหรือขั้นตอนการสร้างสรรค์ เช่น บทความ ซอฟต์แวร์ เพลง หนังสือ รูปภาพ ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพวาด ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น
2.ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครอง เช่น ข่าวประจำวัน,ข้อเท็จจริงต่างๆ,รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, ระเบียบ, ข้อบังคับ,ประกาศ,คำสั่ง,คำพิพากษา,คำวินิจฉัย,และรายงานของทางราชการ เป็นต้น
3.ห้ามลบ หรือเปลี่ยนแปลง ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
4.ห้ามทำลาย Password ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ป้องกันการเข้าถึง การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์
5.การดูหนัง ฟังเพลง จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ห้ามทำซ้ำ
6.ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต เช่น Youtube ถ้าเอางานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บ ถือว่าไม่ผิด
7.สามารถนำรูปภาพ หนังสือ ซีดีเพลง ไปขายมือสองได้ แต่ต้องดูกฎหมายอื่นๆ รองรับด้วย
8.นักแสดงมีสิทธิ์ระบุชื่อตัวเองในการแสดง และห้ามไม่ให้ใครทำเสียชื่อเสียง
9.ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจงใจละเมิด ศาลสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ไม่เกิน2 เท่า
10.การนำ Embed ใน Youtube มาลงเว็บไซต์หรือแชร์ ถือว่าไม่ละเมิด
11.ศาลมีอำนาจ สั่งริบ หรือทำลายสิ่งที่ละเมิด
ผู้กระทำผิดใหม่ มีโทษปรับ 10,000-100,000บาท
หากกระทำเพื่อเชิงพาณิชย์ มีโทษจำคุก 3 เดือน -2ปี หรือปรับ 50,000-400,000บาท หรือทั้งจำและปรับ
Cr.picture
11 ข้อสำคัญ กฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ เริ่มใช้งาน 4 ส.ค.58นี้!!
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. เป็นต้นไป
“หัวใจหลักของกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ที่การห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่ก็มีข้อยกเว้นคือหากไม่ใช่การทำเพื่อการค้า ต้องมีการอ้างอิงที่มาก่อน สามารถทำได้ ภายใต้ข้อยกเว้นคือต้องไม่ทำให้ผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ลดลง หรือกระทบกระเทือนถึงสิทธิ์ของเจ้าของ”
1.ลิขสิทธิ์คุ้มครอง คือ ต้องเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่รวมถึงกระบวนการคิดหรือหรือขั้นตอนการสร้างสรรค์ เช่น บทความ ซอฟต์แวร์ เพลง หนังสือ รูปภาพ ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพวาด ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น
2.ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครอง เช่น ข่าวประจำวัน,ข้อเท็จจริงต่างๆ,รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, ระเบียบ, ข้อบังคับ,ประกาศ,คำสั่ง,คำพิพากษา,คำวินิจฉัย,และรายงานของทางราชการ เป็นต้น
3.ห้ามลบ หรือเปลี่ยนแปลง ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
4.ห้ามทำลาย Password ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ป้องกันการเข้าถึง การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์
5.การดูหนัง ฟังเพลง จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ห้ามทำซ้ำ
6.ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต เช่น Youtube ถ้าเอางานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บ ถือว่าไม่ผิด
7.สามารถนำรูปภาพ หนังสือ ซีดีเพลง ไปขายมือสองได้ แต่ต้องดูกฎหมายอื่นๆ รองรับด้วย
8.นักแสดงมีสิทธิ์ระบุชื่อตัวเองในการแสดง และห้ามไม่ให้ใครทำเสียชื่อเสียง
9.ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจงใจละเมิด ศาลสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ไม่เกิน2 เท่า
10.การนำ Embed ใน Youtube มาลงเว็บไซต์หรือแชร์ ถือว่าไม่ละเมิด
11.ศาลมีอำนาจ สั่งริบ หรือทำลายสิ่งที่ละเมิด
ผู้กระทำผิดใหม่ มีโทษปรับ 10,000-100,000บาท
หากกระทำเพื่อเชิงพาณิชย์ มีโทษจำคุก 3 เดือน -2ปี หรือปรับ 50,000-400,000บาท หรือทั้งจำและปรับ
Cr.picture
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการนำข้อมูลการบริหารสิทธิ
และมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
สมควรกำหนดให้มี การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์
และสิทธิของนักแสดงเพิ่มขึ้น อีกทั้งสมควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ที่ทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย
ต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้น และสมควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือสั่งทำลายสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามา
ในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
Cr.youtube
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น